Agitator Design Standard


Home

>

Training

>

Agitator Design Standard

1237 views

Agitator Design Standard

EP-14 : Agitator Design Standard

มาถึง EP สุดท้ายแล้วครับ, ผมจะใช้ข้อมูลจาก EP-1 ถึง EP-13 มาประกอบ, ทั้งนี้เพื่อสร้างเป็นมาตรฐานในการออกแบบ และ ผลิต AGITATOR กันครับ, งานวิศวกรรม ก็ต้องมองแบบวิศวกรรม กันสักหน่อย,...มาดูงานจริงกันเลย

งานคือ...ต้องการกวนของเหลวชนิดหนึ่ง ในถังขนาด 300,000 ลิตร, วัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการตกตะกอน และ เพื่อให้การถ่ายเทความร้อนทั่วถึง ซึ่งมี Max.Viscosity 20 mPa.sec และ Max.Density 1200 kg/m^3

(EP-1) :
Rheology คือ ของเหลวที่เป็นกลุ่ม Non Newtonian-Plastic Flow-Solid-Liquid, ต้องเลือกใบกวนที่ทำลาย Yield ในช่วงเริ่มต้น (ดู Flow Curve ประกอบด้วย) เนื่องจาก Agitator ไม่ได้ Run 24Hr จึงเกิด Yield แน่นอนช่วงเริ่มต้น Run Agitator

(EP-2) :
Flow Pattern in Mixing tank ผมเลือกใบกวน ที่มี Flow Pattern แบบ Axial Flow 80% and Radial Flow 20% เพื่อทำลาย Yield และ ป้องกัน Dead Zone of Mixing

(EP-3) :
Impeller ใบกวนที่เลือก คือ 2-Blades High Efficiency Impeller, จำนวน 4 Stages

(EP-4) :
Effect of Impeller Location ตรงนี้ต้องเน้นไปที่ใบต่ำสุดครับ ผมออกแบบให้ระยะอยู่ที่ 1/3 ของ เส้นผ่านศูนย์กลางใบเนื่องจากเป็นของเหลวที่เป็นกลุ่ม Non Newtonian-Plastic Flow-Solid-Liquid

(EP-5) :
Tank Geometry ผมไม่ได้ทำถังใบนี้ แต่ไม่ใช่ปัญหาครับ คนออกแบบ AGITATOR ก็ต้องออกแบบให้ทำงานได้ จุดนี้เลยข้ามไป

(EP-6) :
Fluid Shear Rate, กระบวนการนี้ไม่ต้องการ Fluid Shear Rate เลยครับ คือ มีก็ได้ ไม่มีก็ได้ ให้มองที่ Absorb Power เป็นหลักดีกว่าหากเราต้องการ Shear rate โดยไม่จำเป็น

(EP-7) :
Baffle Plate in Mixing Tank : เนื่องจากถังใหญ่ ผู้ออกแบบ Agitator ต้องแจงให้ผู้ผลิตถังทำ Baffle Plate (D/10) จำนวน 6 ชิ้น เพื่อให้ตรงกับ Rheology

(Ep-8) :
Sealing, ระบบเป็น Open System ใช้แค่ Lip Seal กันของเหลวจาก Housing Bearing ไหลลงถัง

(EP-9) :
Shaft Design, นี่แหละครับที่เคยบอกไป หากเพลาคุณยาวเกิน 9 เมตร คุณจะกล้าใช้ Hollow Shaft หรือไม่ แล้วถ้าใช้คุณกล้ายืนยันกับลูกค้ามั้ยครับว่าใช้งานได้ และ คำนวณยังไง, งานนี้ใช้ Solid Shaft Dia.150 mm

(EP-10) :
Forces Acting on Bearings, ใช้ Shperical Roller Bearing ทั้งในส่วนของ Locating Bearing และ Floating Bearing

(EP-11) :
Hub ใช้แบบ Clampling Hub with Key

(EP-12) :
Agitator Drive Options ใช้แบบ Hollow Shaft Mount เพราะงานนี้คือ Large Agitator

(EP-13) :
Agitator Arrangement Options แบบ On Center Installation (Top Entry for Large Agitator) แน่นอนครับ

ส่วนต่อไปคือ การคำนวณครับ

Mixing Task : Prevent Sedimentation and Heat Transfer
Max.Viscosity 20 mPa.sec
Max.Density 1200 kg/m^3

6-STEP FOR AGITATOR DESIGN STANDARD by MISCIBLE

(Step-1) : Volume Calculation
Tank Diameter = 6770 mm
Shell = 9150 mm
Total/Working Volume = 300,000/27,000 Liters

(Step-2) : Impeller Selection
Impeller for Slurry : 2-Blades High Efficiency
No. of Stages Design : 4 Stages
d/D Design : 0.4
Buffle Plate : 6EA and BW1/10

(Step-3) : Tip Speed Design
Degree of Mixing : Medium Mixing
Tip Speed Design : 3.15 m/sec
Calculation Impeller Speed = 20 RPM
Calculation Dia.of Impeller = 2700 mm

(Step-4) : Power Absorb Calculation
Power Calculation 28.55/30.0 kW
Ne Number : 8.7
Torque : 14,325 Nm
Specific Power 0.1 kW/m^3

(Step-5) : Shaft Calculation
Design Shaft Type : Solid
Shaft Diameter : 150 mm
Shaft Length : 10,000 mm
Steady Bearing Design : Bottom Bush
Staring Torque : 28,650 Nm
Overhung Load : 1,515.87 N
Bending Moment : 17,053.37 Nm
Bending Tension : 428.8 kp/cm^2
Torsion Tension : 360.19 kp/cm^2

(Step-6) : Hydraulic Data Calculation
Reynolds Number : 1.46 e+5
Pumping Capacity : 17,997.06 m^3/Hr
P-Number : 0.416
Quality Number : 33.42

จากนั้นก็ไปสร้างงานจริงๆกันเลยครับ

ทิ้งท้ายขอบคุณสำหรับ ผู้ที่เข้ามาอ่านนะครับ ผมมีเจตนาเพื่อแชร์ความรู้จากการทำงานจริง ผลิตจริง และ ใช้งานจริงๆ ไม่ได้เปิดขายความรู้ เพราะผมผลิตเครื่องจักรขายอยู่แล้วเลยไม่ต้องมาเปิดหลักสูตรเพื่อหารายได้อะไรครับ, อาจจะมีขาดตกบกพร่องไปบ้างในเชิงทฤษฏี ในเทคนิคเชิงช่าง ก็ต้องขออภัยด้วยครับ, ถึงจุดนี้คงได้ประโยชน์กันไม่มากก็น้อยครับ

 

Cr. สถาพร เลี้ยงศิริกูล
Tel : 091.7400.555
Line : sataporn.miscible
Miscible Technology Co.,Ltd.




Blogs

-

High Shear Mixer_Ep.4

อ้างอิงจาก The Effect of Stator Geometry on the Flow Pattern and Energy Dissipation Rate in a Rotor-Stator Mixer / A.Utomo, M.Baker, A.W.Pacek / 2009, ขอแสดงทัศนะให้สอดคล้องจาก Ep ที่ผ่านมาที่ว่าด้วย du/dr ครับ อ้างอิงจากผู้วิจัย ได้ทำการใช้ CFD ในเพื่อศึกษา Vector ของความเร็ว ซึ่งจากรูปจะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของภาวะของระบบ (ความเร็ว) นั้นบ่งบอกถึงทิศทางและขนาดของภาวะ โดยมี Max.Velocity 6m/sec (จริงๆน้อยนะครับ) แต่ใช้ค่า Max-Min ศึกษาได้, กล่าวคือ Head ของ Stator ที่เป็นรูใหญ่จะสร้าง Velocity Drop น้อย และ รูแบบ Slot, รูแบบเล็ก ตามลำดับ นั่นแสดงว่า Shear Rate ของ Head ที่มีรูขนาดเล็กให้ du ที่มีค่ามากที่สุด (ตัด dr ออกเนื่องด้วย Gab ของ Rotor-Stator จาก CFD มีค่าเท่ากัน) นั่นคือ รูขนาดเล็กสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบในลักษณะ Emulsion ได้ดีที่สุด สอดคล้องกับสมการที่เคยกล่าวมา แต่....จาก Vector ของความเร็วจะเห็นได้ว่า Stator Head ของรูขนาดเล็กก็ทำให้เกิด Dead Zone of Mixing ได้ง่ายเช่นกัน ตรงนี้บ่งบอกอะไร บ่งบอกว่าการเลือกใช้งานสัดส่วน d/D ของ Rotor-Stator นั่นไม่เหมาะกับถังขนาดใหญ่ หรือ หากต้องการใช้ก็จำเป็นต้องมีเครื่องกวนอีกประเภทที่สามารถขจัด Dead Zone of Mixing ได้ ในลักษณะของ Scraper นั่นเองครับ การทำ CFD มีวัตถุประสงค์และประโยชน์ประมาณนี้เลยครับ แต่มักจะเข้าใจผิดกันว่า CFD คือ สิ่งที่สามารถบอก Mixing Time ได้, บอกกำลังของต้นกำลังได้ ไม่ใช่แบบนั้นครับ ปริมาณในเชิง Scalar ต้องคำนวณครับ, ส่วนปริมาณเชิง Vactor ก็เหมาะกับการทำ Simulation และ ในงานของ Fluid Mixing เราจะใช้ CFD ในการดูแนวโน้มของ Flow Pattern ของใบกวนมากที่สุด (เน้นบริเวณใกล้ๆใบกวนด้วยครับ)

Next